ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

การพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล by วาสนา สะอาด

ชื่อผลงาน : การพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล Developing skills for understanding and using digital technology

 
                            ผู้ถ่ายทอด : วาสนา สะอาด           วันที่ 9 กันยายน 2564    

 

1. บทคัดย่อ

     1.1 ที่มาและความสำคัญ :

            สำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมาย จากมหาวิทยาลัยในการดำเนินงานตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ซึ่งการ พัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหนึ่งในกลไกที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยการขับเคลื่อน มหาวิทยาลัยในทิศทางเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้านดิจิทัล (Digital disruption) และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ของบุคลากรและนักศึกษาให้รู้เท่าทันดิจิทัล (Digital literacy) การวางรากฐานให้กับบุคลากรและนักศึกษาในประเด็นดังกล่าว ที่อาจยังมีข้อจำกัด จึงควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

     1.2 วัตถุประสงค์ :

            เพื่อพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับบุคลากรและนักศึกษา โดยให้บุคลากรและ นักศึกษาได้รับการพัฒนาตามเป้าประสงค์ตามลำดับ

     1.3 วิธีการศึกษา :

            สำนักคอมพิวเตอร์ฯ ศึกษาวิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องร่วมกับฝ่ายแผนยุทธศาสตร์และ กองการเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย โดยส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีเบื้องต้นสำนักคอมพิวเตอร์ฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับกลุ่มเป้าหมาย ในประงบประมาณ พ.ศ. 2564 คือ กลุ่มบุคลากร ซึ่งในกระบวนการดำเนินงานจัดกิจกรรม สำนักคอมพิวเตอร์ฯ ได้ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในกระบวนการปฏิบัติงาน ได้แก่ (1) การเผยแพร่ข้อมูลเนื้อหา เอกสารประกอบการ อบรม แบบทดสอบก่อน – หลังอบรม แบบประเมินผลบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รวบรวมข้อมูลใบรับรอง ภาพกิจกรรม เป็นต้น และ (2) การจัดทำแบบประเมินทักษะออนไลน์โดยข้อมูลต่าง ๆ ได้รับการวิเคราะห์ต่อไป

     1.4 ผลการดำเนินงาน :

            จากข้อมูลพบว่าการพัฒนาทักษะความความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมใช้งานได้ง่ายและสะดวกขึ้น สามารถรวบรวมข้อมูลจำนวนผู้ผ่านการประเมิน ทักษะได้รวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ ตลอดจนเป็นการลดค่าใช้จ่าย ลดการใช้กระดาษในการจัดทำเอกสารประกอบการจัด กิจกรรม และสามารถสืบค้นข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา หน่วยงานต่างๆ ได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีความ ต้องการให้ดำเนินกิจกรรมที่เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง

     1.5 สรุปและอภิปราย :

            การพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัลให้กับบุคลากรและนักศึกษา เพื่อขับเคลื่อน ประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยให้รองรับเข้าสู่การเป็น Smart University เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทรัพยากร บุคคล อันเนื่องด้วยทั้งบุคลากรและนักศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญเป็นที่สุดต่อการพัฒนาและขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยอย่าง ต่อเนื่องและยั่งยืน การวิเคราะห์โดยให้ความตระหนักอาจจะเพิ่มปริมาณของบุคลากรให้ได้รับการพัฒนาและน่าจะเป็นตัวบ่งชี้ เชิงคุณภาพจนเกิดเป็นวัฒนธรรมขององค์กร ด้วยการสนับสนุนและส่งเสริมบุคลากรในทุกๆ มิติอย่างเป็นระบบในภาพรวมของ มหาวิทยาลัย น่าจะได้รับการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต

2. บทนำ

     ตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เสาหลักที่ 3: Smart University ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5: พัฒนา มหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล โดยมีเป้าประสงค์ที่ (Goals) คือ มีโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการ บริหารจัดการแบบครบวงจร รองรับการจัดการศึกษาในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากร รู้เท่าทันและเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล

    เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าสู่การ เป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล โดยประเด็นการพัฒนาทักษะดิจิทัล มีกรอบการวัดประเมินผลทักษะด้านการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) มีจำนวนเนื้อหา 9 กลุ่มเนื้อหา ประกอบด้วย(อ้างอิงกรอบแนวทางจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.)) (1) สิทธิและความรับผิดชอบ (2) การเข้าถึงสื่อดิจิทัล (3) การสื่อสารยุคดิจิทัล (4) ความปลอดภัยยุคดิจิทัล (5) ความเข้าใจสื่อดิจิทัล (6) แนวปฏิบัติในสังคมดิจิทัล (7) สุขภาพดียุคดิจิทัล (8) ดิจิทัลคอมเมิร์ซ และ (9) กฎหมายดิจิทัล นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่เนื้อหา/วิธีการใช้เทคโนโลยีสำหรับการสร้างผลงานต่าง ๆ

   ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทั้งรูปแบบการเรียนรู้ตัวตนเอง การถ่ายทอดความรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาตนเองจึงได้จัดทำเว็บไซต์“พัฒนาทักษะด้านการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy)”(https://bit.ly/3uQuPte) เพื่อใช้ในการประกอบการจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล Onsite ซึ่งข้อมูลที่นำเสนอประกอบด้วย (1) รวบรวมเอกสารประกอบการอบรม (2) แบบทดสอบก่อน – หลังอบรม "การพัฒนาทักษะ ด้านการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy)" (3) แบบประเมินทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (4) แบบประเมินผล บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล-onsite (5) รวบรวมข้อมูล Certificate Digital literacy ใบรับรองผ่านการ ประเมินทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (6) ภาพกิจกรรม และ (7) คู่มือเนื้อหา/วิธีการใช้เทคโนโลยีสำหรับการ สร้างผลงานต่าง ๆ เป็นต้น

3. วัตถุประสงค์

     3.1 เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

     3.2 เพื่อใช้ในการประกอบการจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลทั้งในรูปแบบศึกษาด้วยตนเอง และรูปแบบการ อบรม Onsite

     3.3 เพื่อเป็นช่องทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

     3.4 เพื่อรวบรวมข้อมูลการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

4. วิธีการและเครื่องมือ

     วิธีการดำเนินงานจัดทำเว็บไซต์“พัฒนาทักษะด้านการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy)” (https://bit.ly/3uQuPte) โดย ประยุกต์ใช้เครื่องมือจาก (1) Google Applications และ (2) Microsoft office ซึ่งสามารถนำเสนอวิธีการ และประยุกต์ใช้ เครื่องในการปฏิบัติงานได้ ดังนี้

     4.1 การจัดทำเว็บไซต์พัฒนาทักษะ :

            ในการจัดทำเว็บไซต์พัฒนาทักษะด้านการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) เป็นการประยุกต์ใช้ในส่วนของ Google Applications (Sites) โดยคำนึงถึงหัวข้อและรายละเอียดสำหรับการนำเสนอข้อมูลที่มีความสำคัญและจำเป็นการ ประกอบการปฏิบัติงานพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ซึ่งผู้จัดทำได้วางแผนและกำหนดรายละเอียดการนำเสนอข้อมูล มีหัวข้อดังนี้

1) หน้าแรก คือ การแสดงรายละเอียดหน้าจอหลักของเว็บไซต์

2) เอกสารการอบรม คือ เมนูการแสดงรายละเอียดเนื้อหา/เอกสารประกอบการอบรมหัวข้อ Digital Literacy และ คู่มือเนื้อหา/ วิธีการใช้เทคโนโลยีสำหรับการสร้างผลงานต่าง ๆ โดยในการสร้างรายละเอียดหน้าเว็บนี้เชื่อมโยงการสร้าง เนื้อหา/เอกสารการอบรมจาก Microsoft PowerPoint, Microsoft Word เป็นต้น ทั้งนี้ ในการจัดเตรียมเนื้อหา Digital Literacy ได้รวบรวมข้อมูลมาจากคณะทำงานของสำนักคอมพิวเตอร์ฯที่ได้ดำเนินงานจัดทำตามประเด็นหัวข้อที่ได้รับ มอบหมาย

3) แบบทดสอบ คือ เมนูการแสดงรายละเอียดหัวข้อ ประกอบด้วย

     (1) แบบทดสอบก่อนการอบรม

     (2) แบบทดสอบ หลังการอบรม และ

     (3) แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเมนูนี้ใช้ได้ประยุกต์ใช้Google Applications (Forms)

4) ประเมินทักษะ คือ เมนูการสร้างแบบประเมินทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล(Digital Literacy) ซึ่ง เมนูนี้ใช้ได้ประยุกต์ใช้Google Forms และวิเคราะห์ข้อมูลผ่าน Google Sheet

5) ใบรับรอง คือ เมนูแสดงข้อมูลผู้ที่ผ่านการพัฒนาทักษะที่ได้รับใบรับรอง(Certificate Digital Literacy) โดยแสดง แยกตามปฏิทินการจัดกิจกรรมและแยกตามรายชื่อ ซึ่งเป็นการอัพโหลดข้อมูลโดยใช้ใช้Google Drive

6) KM & Question คือ เมนูแสดงเว็บบอร์ดการถาม – ตอบ หรือประเด็นข้อซักถามอื่น ๆ

7) สำหรับเจ้าหน้าที่คือ เมนูแสดงปฏิทินการปฏิบัติงานการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล 

รูปที่ 1 หน้าจอหลักของเว็บไซต์พัฒนาทักษะด้านการเข้าใจดิจิทัล

     4.2 การจัดทำแบบประเมินทักษะ :

            การจัดทำแบบประเมินทักษะ เป็นเมนูหลักที่สำคัญในการจัดทำเว็บไซต์พัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล(Digital Literacy) โดยเป็นการประยุต์ใช้ประยุกต์ใช้Google Forms ร่วมกับการกำหนดรูปแบบสุ่มข้อสอบ ด้วยแบบฟอร์ม แผ่นงาน และสคริปต์แอป และวิเคราะห์ข้อมูลผู้ผ่านแบบทดสอบโดยใช้ Google Sheet ตามเกณฑ์การผ่านก สนประเมิน ร้อยละ 70 ซึ่งสามารถนำเสนอขั้นตอนการจัดทำแบบประเมินทักษะได้ ดังนี้ 1. ขั้นการจัดทำข้อคำถามแบบประเมิน ในขั้นตอนนี้ได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานของสำนักคอมพิวเตอร์ฯ ในการดำเนินงานจัดทำข้อคำถามแบบประเมินตามประเด็นหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย หัวข้อละอย่างน้อย 10 ข้อ ซึ่งหลังจากที่ ได้ข้อคำถามจากคณะทำงานครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ผู้จัดทำได้นำข้อคำถามดังกล่าวมาวิเคราะห์และพิจารณาความสอดคล้องที่ เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งนำเสนอผู้บริหารพิจารณา 2. ขั้นตอนการจัดทำแบบประเมินออนไลน์ ในขั้นตอนนี้ภายหลังจากผู้จัดทำได้นำข้อคำถามที่รวบรวมมา วิเคราะห์และพิจารณาความสอดคล้อง พร้อมทั้งนำเสนอผู้บริหารพิจารณาเรียบร้อยแล้ว นำมาสร้างเป็นแบบประเมินออนไลน์ โดยประยุกต์ใช้Google Forms ซึ่งได้สร้างแบบประเมินออนไลน์ออกเป็น 2 ชุด ชุดละ 50 ข้อ โดยมีรายละเอียดข้อคำถามที่ มีความคล้ายคลึง สอดคล้องหัวข้อ เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และสลับลำดับข้อให้มีความเหมาะสม พร้อมทั้งตั้งค่าการใช้งานแบบ ประเมินออนไลน์ที่มีความเหมาะสมกับการประเมิน

  

รูปที่ 2 แสดงหน้าจอการสร้างและตั้งค่าแบบประเมินออนไลน์

3. ขั้นตอนการกำหนดรูปแบบการสุ่มข้อสอบด้วยแบบฟอร์มแผ่นงาน และสคริปต์แอป ซึ่งในขั้นตอนนี้ ผู้จัดทำ มีขั้นตอนวิธีการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1) สร้างโฟลเดอร์คลังข้อสอบ จากจำนวนชุดแบบประเมินออนไลน์ที่จัดเตรียมไว้ 2) การสร้างข้อมูลระบบการสุ่มแบบประเมินออนไลน์โดยใช้ Google Sheet โดยใช้เมนูเครื่องมือ เพื่อให้ สามารถสร้างโปรแกรมแก้ไขสคริปต์แอป(อ้างอิงสคริปต์แอปจาก : https://mozart-34.medium.com/assign-a-randomexam-with-forms-sheets-and-apps-script-b0ab3738b2c8) 3) ดำเนินการแก้ไขสคริปต์แอปตามขั้นตอนการสร้างแบบประเมินออนไลน์ในลักษณะการสุ่มชุดแบประเมิน จากคลังข้อสอบ 

รูปที่ 3 แสดงหน้าจอแก้ไขสคริปต์แอป

4) การดึงรายงานข้อมูลผู้เข้าทดสอบแบบประเมินออนไลน์ โดยประยุกต์ใช้ Google Sheet เพื่อตรวจเช็คผล การประเมินเปรียบเทียบตามเกณฑ์การผ่านการประเมินที่กำหนด ร้อยละ 70

รูปที่ 4 แสดงหน้าจอผลการประเมิน

4. ขั้นตอนการนำแบบประเมินออนไลน์ไปใช้งาน ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้จัดทำได้นำ URL ของแบบประเมินออนไลน์ที่จัดเตรียมไว้ไปลงในหน้าเว็บไซต์ที่จัดเตรียมเมนูไว้เรียบร้อยแล้ว และสามารถเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ทำการประเมินทักษะ ออนไลน์ได้

5. ผลการดำเนินงาน

     จากการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะด้านการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) ในรูปแบบ Onsite โดยการใช้เว็บไซต์ “พัฒนาทักษะด้านการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) ที่พัฒนาขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2564 สามรถสรุปข้อมูล ผลการดำเนินงานได้ ดังนี้

     จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล(Digital literacy) Onsite ซึ่งมีบคุลากรจากคณะ/วิทยาลัย/สำนัก และหน่วยงานเข้า ร่วม โดยมีจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์การอบรมจำนวนทั้งสิ้น 141 คน คิดเป็นร้อยละ 9.43 จากจำนวนบุคลากรทั้งหมดของ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2564 จำนวน 1,495 คน ซึ่งสามารถแยกรายละเอียดได้ ดังนี้

ตารางที่ 1 ข้อมูลจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์การประเมินทักษะด้านดิจิทัล(Digital literacy) Onsite 

ตารางที่ 2 ข้อมูลจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์การประเมินทักษะด้านดิจิทัล (Digital literacy) Onsite แยกตามสังกัด

6. สรุป

     สำนักคอมพิวเตอร์ฯ ได้ดำเนินการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาประกอบการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนประเด็น ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย การเข้าสู่การเป็น Smart University และสอดคล้องกับภารกิจการดำเนินงานของหน่วยงาน ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรรู้เท่าทันและเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล       โดยมีวัถตุประสงค์หลักในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการ พัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลทั้งในรูปแบบศึกษาด้วย ตนเอง และรูปแบบการอบรม Onsite โดยเน้นการประเมินทักษะออนไลน์ที่สามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวก รวมทั้งสามารถ รวบรวมข้อมูลจำนวนผู้ผ่านการประเมินทักษะได้รวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ

7. ความสามารถในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ หรือต่อยอดเพื่อให้บุคคลหรือหน่วยงานอื่นไปใช้ ประโยชน์ได้ในวงกว้าง (impact)

    จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน “การพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล” สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานการปฏิบัติงานด้านอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น 1. การจัดทำเว็บไซต์ติดตามผลการดำเนินงาน 2. การจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจหรือความคิดเห็นผ่าน Google Forms แล้ววิเคราะห์และประเมินผลผ่าน Google Sheet 3. สามารถนำไปสร้างเป็นช่องทางการเผยแพร่ผลการปฏิบัติราชการ ผลการดำเนินงานที่สำคัญผ่าน หรือการจัดทำ เว็บไซต์ข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีผ่าน Google Sites เพื่อลดการใช้กระดาษ และสามารถ สืบค้นข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทุกที่ ทุกเวลา

 ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ